สื่อบันทึกในงานวีดีโอ

Share This

Betamax

Betamax เป็น HVR (Home Video Recorder) อีกรูปแบบหนึ่งที่มีขนาด ½ นิ้ว ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า VHS พัฒนาในปี ค.ศ. 1975 โดยบริษัทSony ในประเทศญี่ปุ่น เรียกว่า “Beta Gaki” เป็นเทปที่ได้รับการปรับปรุงเรื่องคุณภาพการบันทึก และเล่นเทปได้อย่างรวดเร็ว แต่ทำให้การเสียดทานระหว่างเทปกับหัวอ่านมากขึ้นตามไปด้วย รวมทั้งมีราคาสูงกว่า VHS

  Betacam

Batacam เป็นวิดีโอเทปที่มีขนาด ½ นิ้ว มีความละเอียดที่ 300 เส้นในแนวนอน พัฒนาโดยบริษัท Sony ในปี ค.ศ. 1982 หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1986 ได้มีการพัฒนา Betacam-SP (Betacam Super Performance) โดยเพิ่มความละเอียดเป็น 340 เส้น และเป็นมาตรฐานที่ใช้ในอุตสาหกรรมโทรทัศน์กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมี 2 ขนาด ได้แก่ S และ L ในปี ค.ศ. 1993 ได้มีการพัฒนา Digital Betacam เพื่อเข้ามาแทนที่Betacam และ Betacam-SP โดยเทปขนาด S สามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 40 นาที ในขณะที่เทปขนาด L สามารถบันทึกได้ประมาณ 124นาที โดยใช้กลไกการบีบอัดข้อมูลแบบ DCT ด้วย Bit Rate ที่ 90 Mbps และใช้ 4 ช่องสัญญาณเพื่อเข้ารหัสเสียงแบบ PCM มีอุปกรณ์ที่รองรับการเชื่อมต่อแบบดิจิตอลกับ Serial Digital Interface ผ่านสายโคแอกเชียล ในปี ค.ศ. 1996 ได้มีการพัฒนา Betacam SX เป็นอีกเวอร์ชัน หนึ่งของ Betacam SP ซึ่งมีราคาถูกกว่า Digital Betacam ใช้กลไกการบีบอัดข้อมูลแบบ MPEG-2 Profile@ML ในปี ค.ศ. 1997 ได้พัฒนา HDCAM ซึ่งเป็นเวอร์ชัน HDTV ของ Digital Betacam ใช้ Bit Rate ที่ 144 Mbps ในปี ค.ศ. 2001 ได้พัฒนา MPEG IMX ที่มี Bit Rate สูงกว่า Betacam SX โดยใช้กลไกการบีบอัดข้อมูลแบบ CCIR-601 ที่สามารถรองรับเสียงได้ 8 ช่องสัญญาณในปี ค.ศ. 2003 ได้พัฒนา HDCAM SR  ซึ่งรองรับ Bit Rateที่ 440 Mbps และใช้กลไกการบีบอัดข้อมูลแบบ MPEG-4 โดยเทปแต่ละชนิดจะถูกกำหนดให้มีสีที่แตกต่างกัน คือ Betacam และ Betacam SPจะมีสีเทา Digital Betacam จะมีสีฟ้า Betacam SX จะมีสีเหลือง MPEG IMX จะมีสีเขียว HDCAM/HDCAM-SR จะมีสีดำ

 Video Home System (VHS)

VHS (Video Home System) เป็นมาตรฐานสำหรับการบันทึกเสียง และภาพเคลื่อนไหวสำหรับ Video Cassette Recorder (VCR) ที่พัฒนาโดยบริษัท JVC (Japan Victor Company) ในปี ค.ศ. 1976 มีระยะเวลาในการบันทึกนานกว่าระบบ Betamax ของ Sony โดยกลไกของ VHS จะหมุนเทปด้วยความเร็วที่มากกว่าระบบของ Betamax เทป VHS มีขนาดกว้าง 12.70 มิลลิเมตร หรือประมาณ ½ นิ้ว และยาวประมาณ 430เมตร หัวอ่านของ Video Cassette Recorder จะเคลื่อนที่ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับระบบการแสดงผลที่ใช้ สำหรับระบบ NTSC เทปจะถูกดึงด้วยความเร็ว 3.335 เซนติเมตรต่อวินาที สามารถบันทึกได้ 3.5 ชั่วโมง ส่วนระบบ PAL  เทปจะถูกดึงด้วยความเร็ว 2.339 เซนติเมตรต่อวินาที สามารถบันทึกได้ประมาณ 5 ชั่วโมง ในปี ค.ศ. 1987 ได้มีการพัฒนา S-VHS (Super Video Home System) ซึ่งมีความละเอียดอยู่ที่ 400 dot/line และมีคุณภาพสีสูงกว่า VHS โดยส่งถ่ายสัญญาณผ่านตัวเชื่อมต่อแบบ S-Video ต่อจากนั้นได้พัฒนา VHS-C (Video Home System Compact) เป็นอีกหนึ่งเวอร์ชันของ VHS เพื่อนำไปใช้กับเครื่องบันทึกแบบพกพา และได้มีการพัฒนา VHS คุณภาพสูงที่เรียกว่า “S-VHS-C” (Super Video Home System Compact) และ W-VHS ใช้สำหรับ High Definition Analog Video ซึ่งสามารถรองรับความละเอียดที่ 1125 เส้น รวมถึง D-VHS ใช้สำหรับเก็บวิดีโอแบบดิจิตอลที่พัฒนาโดยบริษัท JVC ซึ่งเป็น รูปแบบเดียวกับ VHS มี Bit Rate ที่ 28.2 Mbps และสามารถบันทึกได้นานถึง 3.5 ชั่วโมง

  Video2000

VCR (Video Cassette Recorder) หรือ VTR (Video Tape Recorder) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการบันทึก เล่นเสียง และภาพเคลื่อนไหวแบบRemovable โดยในปี ค.ศ. 1980 บริษัทต่างๆพยายามกำหนดมาตรฐานเทป VCR ของตนขึ้นมา ได้แก่ Video2000 ของบริษัท Philips, Betamaxของ Sony และ VHS ของ JVC โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำไปใช้งานในที่พักอาศัย แต่เทปแบบ VHS ได้รับความนิยมมากที่สุด ต่อมาในปี ค.ศ. 1990ได้มีการพัฒนาสื่อดิจิตอลในรูปแบบใหม่เกิดขึ้นโดยเรียกว่า DVD

  Video2000

หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Video Compact Cassette (VCC) เป็นรูปแบบการบันทึกวิดีโอที่พัฒนาโดย Philips ที่เป็นคู่แข่งกับ VHS และBetamax ซึ่งใช้ Double Side Cassette และมีขนาดบางกว่า VHS แต่ละด้านสามารถบันทึกวิดีโอได้ถึง 4 ชั่วโมง เป็นเทคโนโลยีที่ดีกว่า VHS และBetamax แต่ไม่สามารถนำมาตีตลาดของเทปแบบ VHS ได้ Video2000 เป็น Home Video Cassette Recorder System เพื่อใช้งานภายในบ้าน มีขนาด ½  นิ้ว เคลือบด้วย Chromium Dioxide มี 3 ขนาด ได้แก่ 30, 45 และ 60 นาที สามารถป้องกัน Crosstalk ระหว่างแทร็กของวิดีโอโดยใช้Guard Band ซึ่งเป็นพื้นที่ว่างเล็กๆ ระหว่างแทร็กเพื่อป้องกันการถูกรบกวนเมื่อทำการอ่านข้อมูล

  Camcorder

Camcorder (เป็นการผสมผสานระหว่างคำว่า “Camera” และ “Recorder”) เป็นอุปกรณ์การบันทึกวิดีโอแบบพกพา โดยจะจัดเก็บวิดีโอไว้ในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่อยู่ภายใน โดยในปี ค.ศ. 1984 Kodak ได้พัฒนา Camcorder จะใช้เทป VHS หรือ Betaxam ซึ่งเป็นเทปที่มีขนาดใหญ่ จึงได้

ลดขนาดเทปลงเป็น 8 มิลลิเมตร แต่ยังสามารถบันทึกวิดีโอที่มีคุณภาพสูงได้และสามารถบันทึกได้นานกว่าเมื่อเทียบกับ VHS หรือ Betamax ในปัจจุบัน Camcorder จะเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลจึงเรียกว่า Digital Camcorder ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้โดยตรงผ่านอินเตอร์เฟซแบบดิจิตอล และ สามารถจัดเก็บข้อมูลลง MiniDV หรือ DVD ได้ นอกจากนี้ยังสามารถแก้ไขวิดีโอผ่านซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง

VCR (ซ้าย), Video2000 (กลาง) และ Camcorder (ขวา)

  Video8

กล้องวิดีโอแบบ VCR จะบันทึกวิดีโอลงบนเทป Video8 ที่มีขนาด (8 mm Video) ซึ่งเป็นเทปที่สามารถพกพาได้ และคุณภาพในการบันทึกวิดีโอดีกว่าแบบ VHS สามารถบันทึกได้นานถึง 60 และ 120 นาที นำไปใช้งานกับกล้องวิดีโอแบบพกพาที่เรียกว่า “Handycam” โดยบริษัท Sony Handycam ซึ่งเป็นกล้องตัวแรกที่ใช้เทปขนาด 8 มิลลิเมตรในการบันทึก ต่อจากนั้นได้มีการนำ Video8 มาปรับปรุงให้สามารถบันทึกวิดีโอในรูปแบบดิจิตอลได้เรียกว่า “Digital8” ที่ใช้การบีบอัดในรูปแบบ DV CODEC แต่ต้องบันทึกลงบนเทป Hi8

  Digital Video (DV), MinDV and DVCAM

DV (Digital Video) ได้พัฒนาในปี ค.ศ. 1996 โดยใช้การบีบอัดข้อมูลแบบ CODEC เพื่อปรับปรุงคุณภาพวิดีโอให้ได้มาตรฐาน เมื่อเทียบกับVHS และ Video8 โดยจะใช้การบีบอัดแบบ DV CODEC ด้วย Bit Rate ที่ 25 Mbps สามารถรองรับได้ถึง 2 ช่องสัญญาณเสียงที่ 4 kHz และ Bit Rate ที่ 16 บิต หรือ 4 ช่องสัญญาณเสียงที่ 32 kHz ขนาด 12 บิต โดย DV จะมีขนาด 120 x 90 x12 มิลลิเมตร สามารถบันทึกวิดีโอได้ 2 ชั่วโมง ส่วน MiniDV  จะมีขนาด 65 x 48 x 12 มิลลิเมตร สามารถบันทึกวิดีโอได้ 1 ชั่วโมง และ DVCAM พัฒนาโดย Sony ซึ่งเป็นเทปแบบเดียวกับ DV แต่มีความกว้าง ของแทร็กมากขึ้นทำให้เทปมีความทนทานมากขึ้น

  DVCPRO

DVCPRO เป็นเทคโนโลยี Digital Video ที่พัฒนาโดย Panasonic หากบันทึกเสียงที่ 48 kHz ขนาด 16 บิต จะเรียกว่า DVCPRO25 มี Bit Rate ที่ 25 Mbps ส่วน DVCPRO50 จะใช้ Bit Rateที่ 50 Mbps และนำไปใช้ในการบันทึกวิดีโอระดับมืออาชีพ   ส่วน  DVCPRO100  ใช้ Bit Rate  ที่ 100 Mbps และนำไปใช้กับ HDTV ความละเอียดที่ 72 พิกเซล และ 1080i โดยกล้องวิดีโอที่เป็น  DVCPRO สามารถเล่นได้ทั้งเทปDV และ DVCAM

  MicroMV

เป็นรูปแบบวิดีโอแบบดิจิตอล  ที่พัฒนาโดยบริษัท Sony ซึ่งเป็นเทปที่มีขนาดเล็กกว่า Digital8 หรือ DV ใช้การบีบอัดข้อมุลแบบ MPEG – 2 โดย MicroMV Camcorder มีพอร์ต USB สำหรับเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และใช้ซอฟต์แวร์แก้ไข้วิดีโอได้ตรง

Laserdisc

Laserdisc (LD) เป็นสื่อกลางในการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบออปดิตอล มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 30 เซนติเมตร พัฒนาในปี ค.ศ.1958 โดย David Paul Gregg ได้นำมาเผยแพร่ในปี ค.ศ. 1961 ถึง 1969 และในปี ค.ศ. 1972 บริษัท Philip และ MCA ได้นำวิดีโอมาจัดเก็บบน Laserdisc ในรูปแบบของสัญญาณอนาล็อก ส่วนเสียงจะถูกจัดเก็บได้ทั้งแบบอนาล็อกหรือดิจิตอล พื้นผิวของดิสก์เป็นอลูมิเนียม ร่องของ Laserdisc ถูกสร้างขึ้นโดยใช้ Frequency Modulation ของสัญญาณอนาล็อก

  VCD (Video Compact Disc)

VCD (Video Compact Disc) เป็นมาตรฐานที่พัฒนาในปี ค.ศ.1993 โดยบริษัท Sony, Philip, Matsushita  และ JVC มีขนาดเท่ากับแผ่น CD(เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 เซนติเมตร) โดยวิดีโอยู่ในรูปแบบของ MPEG-1 ส่วนเสียงจะถูกเข้ารหัสในรูปแบบ MPEG-2 วิดีโอจะถูกจัดเก็บด้วยความเร็ว 1,150 กิโลบิตต่อวินาที ส่วนเสียงจะถูกจัดเก็บที่ 224 กิโลบิตต่อวินาที สามารถบันทึกวิดีโอได้ประมาณ 74 นาที การเล่น VCD จะใช้วิธีเชื่อมต่อเครื่องเล่น VCD ไปยังโทรทัศน์หรือใช้ VCD Drive บนเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถใช้งานซอฟต์แวร์ต่างๆ เช่น Windows Media Player และ Xing MPEG Player เพื่อควบคุมการเล่น VCD บนคอมพิวเตอร์ได้

  SVCD (Super Video Compact Disc)

เป็นมาตรฐานสำหรับจัดเก็บวิดีโอซึ่งมีคุณภาพสูงกว่า VCD โดยจะเก็บวิดีโอแบบดิจิตอลในรูปแบบ MPEG-2 ใช้ความละเอียดที่ 480 x 480 พิกเซล หรือ 480 x 576 พิกเซล เข้ารหัสด้วย Bit Rate ที่ 2.6 เมกะบิตต่อวินาที เสียงจะถูกจัดเก็บในรูปแบบ MPEG-2 ด้วย Bit Rateที่ 128 ถึง 384 กิโลบิตต่อวินาที สามารถบันทึกวิดีโอได้ 35 ถึง 60 นาที

  DVD Video

DVD Video คือ มาตรฐานที่ใช้บันทึกทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง รวมถึงข้อมูลเสียงที่มีคุณภาพสูงกว่า VCD มีความจุสูงสุดประมาณ17 กิกะไบต์ ขนาดของแผ่น DVD จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่อยู่ 12 เซนติเมตร ถ้าเป็นแผ่นขนาดเล็กจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 8เซนติเมตร ระบบไฟล์ของ DVD เรียกว่า “UDF0 (Universal Disc Format)” ตามมาตรฐานของ ISO 9660

  HD-DVD

HD-DVD (High-Definition Digital Versatile Disc) เป็นออปติคอลดิสก์สำหรับบันทึกวิดีโอที่มีคุณภาพสูง (Hi-Defination Video) ซึ่งมีพื้นฐานมาจาก DVD ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Toshiba สามารถเล่นแผ่น HD-DVD ได้ด้วยเครื่องเล่น HD-DVD โดยแผ่น HD-DVD จะเข้ารหัสสัญญาณแบบเดียวกับ MPEG-2 ได้รับการกำหนดมาตรฐานโดย DVD Forum ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานให้กับ DVDโดย HD-DVD จะมีขนาดเท่ากับแผ่นซีดีธรรมดา ซึ่งแบ่งความจุออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ แบบ Single Later จะมีความจุ 15 GB แบบ Double Layer จะมีความจุ 30 GB และแบบ Triple Layer จะมีความจุ 45 GB

 Blu-ray Disc

Blu-ray Disc เป็นออปติคอลดิสก์สำหรับบันทึกข้อมูลและวิดีโอที่มีคุณภาพสูง โดยใช้แสงเลเซอร์สีฟ้า (Blue Later) ที่มีความยาวคลื่น 405 nm ในการอ่านและเขียนข้อมูล ได้รับการพัฒนาโดย Blu-ray Disc ® Association (BDA) ร่วมกับบริษัทชั้นนำต่างๆ มากมาย เช่นMatsushita, Pioneer, Phillips, Thomson, LG Electronics, Hitachi, Sharp, Samsung และ Sony โดยแบบ Single Layer จะบันทึกข้อมูลได้ถึง 25 GB (13 ชั่วโมง) ส่วนแบบ Double Layer สามารถบันทึกข้อมูลได้ 50 GB (20 ชั่วโมง)

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *